Dignity Returns Factory
The Solidarity Factory was created as a workers’ cooperative by ex-employees of Bed and Bath. They were made redundant without being paid any compensation as required by Thai law. This company produced brand named clothing for export. The company produced for Nike, Adidas, Gap, Reebok and UMBRO, brands which are supposed to be covered by a Code of Conduct in employment. Yet, the company never complied with any Code of Conduct and treated its staff like slaves. Working hours were often as long as 60 hours of continuous work. Employees were given addictive drugs to keep them awake. Deductions were made from earnings without due cause. Employees found eating lemons were fined 2000 baht. Those caught yawning were fined 500 baht. Often workers were physically abused and they were not allowed to form a union. In the end the factory was closed without paying owed wages or compensation.
Background
During the months of protest, the workers supported themselves by selling flowers and making cotton clothes for sale. With 7 sewing machines, they started a small “factory” in front of the Ministry of Labor, where they produced banners, shirts, and bags. The workers carried out all of the steps in the process themselves – from product design, to choosing and purchasing fabric, to sewing and embroidering patterns on the garments, In addition, they silk-screened shirts with images of themselves marching in protest, along with the motto “Dignity is not for sale.” The workers made all of these products under the label “Made in Unity” – a brand they created.
The demonstrations ended on January 31, 2003 – a day that will be remembered for the workers’ success in persuading the Employees Welfare Fund Committee to change its regulations regarding emergency assistant pay. Previously, workers had been entitled 30 times the minimum wage; after the protest, emergency assistant pay increased to 60 days of minimum wage to workers over six years of work. The workers also won back pay for those who had not yet received it.
October 2002 – January 2003 : for 3 months and 10 days, 350 workers had protested in front of the Ministry [of Labor]. They represented 800 workers from Bed and Bath factory who were laid off without paying or severance when the factory had been closed and its manager fled the country. Gathering at the Ministry of Labor, these workers demanded the rights guaranteed to them by law.
In the end, the former Bed and Bath workers each received approximately 14,800 baht from the Employees Welfare Fund and 2,000 baht from the the Department of Social Development and Welfare.
A Dream Factory
After the demonstrations, a number of the workers looked for work in a new factories. Many others felt that they no longer wanted to subject themselves to the condition they had experienced in the past – both in the factory and the capital city in general – and returned to their homes in the countryside.
At the same time, 40 of the former Bed and Bath workers got together to form “Solidarity Group” and a small factory of their own. Together, they borrowed 700,000 baht from the Government Savings Bank and received additional support from friends and sponsoring organizations. With this money, they bought equipment and started the factory. The factory would produce products under the group’s label: “Dignity Returns” They opened on February 27, 2003.
“The Solidarity Group” and their factory were established as a result of the experiences of workers who did not want to return to the exploitative conditions they had faced in the past. The establishment of the this new factory fulfilled the group’s dream to create a working space owned and run by workers. A Factory that free from oppression, exploitation, and the threats of bosses. The group hopes that one day they will have their own brand, financial security and enough income to support projects that benefits other workers, particularly those in need.
“I know it will be difficult, but we’re trying with all our hearts to make it a reality. we will prove ourselves.”
As the factory is still in its infancy, it has not gained much exposure and therefor has only a small number of order coming in. Although the factory has coordinated with workers unions and other organizations to make banners, headbands, bags, and other items used in protests and seminars, the income from this work does not fully cover the factory’s expenses. These expenses include rent, water, electricity, and loan payments of several 100,000 baht a month.
Another difficulty is the fact of being a small factory with little capital; the group cannot take advantage of economies of scale by buying in bulk. As a result, they cannot compete with large factories with regards to pricing. These issues remain obstacles, despite the group’s confidence in their abilities and products.
Today, the Solidarity Group still has to cut, sew, iron and pack clothes for other factories rather than working directly with the end client. In some case, there is a chain of middleman between the Solidarity Group and the client, each taking a cut of the revenue.
“Each piece of clothing that we take from other factories requires 20-30 steps to complete. However, we receive only 16 baht per piece – a very low sum. If we can work directly with the client, our situation should be improved.”
It is friendship that holds this factory together – friendship among people who have struggled together since their days at Bed and bath, through 3 months of protests at Ministry of Labor, to their on going work to create a viable factory of their own. Their desire to make this factory a reality gives them the energy to go on and to avoid discouragement – even when some say that the work in their own factory is as hard as that any other factory. However, the members of Solidarity Group realize that work in this factory is different because it is not only the work toward their own dream but also the goal of benefit of workers in general.
“Sometimes people outside say that we still to work hard – it’s no different than working in the old factory. but we know that it is different. In this place, there is no boss hanging over or taking advantage of us. There is no threat and insult. Most importantly, we are in a factory of our own.”
Since February 27, 2003 a number of the workers in The Solidarity Group have had to leave the factory for personal reasons or economic difficulties. At this time there are 16 members of the initial group remaining.
The reward for the group’s hard work and saving is that they have paid off their bank loan and interest a total 875,280 baht. In addition, they have almost paid off the remaining debts to other lenders.
The primary obstacle facing the group now is getting their work out to where it can be seen and appreciated by many.
The Solidarity Group’s “dream factory” for workers is becoming more and more of reality everyday. They have worked through obstacles that once seemed overwhelming through hard work and perseverance. The main issue today is the extent to which this small factory can make its known.
A plan for stability and survival
Aims
To allow the Solidarity Factory and its members to survive in a climate of economic crisis. During this crisis the factory has faced many challenges including the variation in energy prices, inflation and the effects of the global financial crisis. Small factories like the Solidarity Factory cannot avoid such economic effects. The Solidarity Factory has attempted to review and make changes to the organization and management in order to survive this crisis. But we cannot do everything on our own and need help from those organizations which are willing to aid us. We hope that with such assistance we can weather the economic storm.
The workforce finally rose in protest to demand their rights according to the law. But the government refused to force the company to obey the law. After 3 months, the workers stopped fighting. Many did not want to go and work for another boss in another factory ever again. So the Solidarity Factory was born. Our slogan is “A Factory by workers, for workers”.
What The Solidarity Factory hopes to achieve
In order to provide a living wage for members in accordance with the present economic situation. To reduce working hours to 8 hours per day. To make the Solidarity Factory a place of refuge for sacked workers, the unemployed and victimised trade unionists. To allow workers time to take part in political and social activities which are beneficial to workers. To turn the Solidarity Factory into a learning and help centre for Thai and migrant workers. To provide an example to other workers who wish to set up cooperatives.
โรงงานสมาณฉันท์
กลุ่มโซลิดาริตี้ เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนงานบริษัท เบด แอนด์ บาธ ซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายตามสิทธิของคนงานที่ ควรจะได้รับ บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์เนมส่งออก เช่น ไนกี้ อดิดาส แก็ป อัมโบร รีบ็อกฯ ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีหลักจรรยาบรรณด้านแรงงานและขบวนการผลิต ที่ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่บริษัทไม่ทำตามพยายามเอาเปรียบคนงานและกฎขี่คนงานเยี่ยงทาส เช่น ชั่วโมงการทำงานที่ติดต่อกัน(สองวันหนึ่งคืนติดต่อกัน)ผสมสารเสพติดในน้ำให้ คนงานดื่ม , หักเงินโดยไม่มีเหตุผล (กินมะนาวหักลูกละ 2,000 บาท,หาวนอนหักครั้งละ 500 บาท) ทำร้ายร้างกายคนงาน ,ห้ามจัดตั่งสหภาพแรงงาน ฯลฯ และ สุดท้ายก็ปิดโรงงานลอยแพคนงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชย ทำให้คนงานลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของตังเองทั่งๆที่กฏหมายเขียนไว้ ชัดเจนว่าสิทธิของคนงานหลังถูกเลิกจ้างควรจะได้รับอะไรบ้าง แต่รัฐบาลไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ปล่อยให้คนงานต่อสู้กับกฏหมายที่มีอยู่แล้ว เป็นเวลาสามเดือนกว่าจึงมีข้อสรุปและยุติการชุมนุมลงได้ คนงานหลายๆคน เข็ดหลาบและไม่กล้าพอที่จะหันหน้ากลับคืนสู่ประตู่โรงงาน เพราะไม่รู้ว่าหลังประตูนั้นจะมีคนคอยเอาเปรียบและขูดรีดเราอีกหรือไม่ พวกเขาจึงรวมตัวกันจัดตั้งโรงงานของคนงานขึ้น ชื่อว่าโรงงานกลุ่มโซลืดาริตี้ (อังกฤษ : Solidarity Group) ภายใต้สโลแกนที่ว่าโรงงานของคนงาน โดยคนงาน เพื่อคนงาน
ประวัติ
ตุลาคม 2545 – มกราคม 2546 รวมเวลา 3 เดือน 10 วัน ที่คนงานบริษัทเบท แอนด์ บาธ กว่า 350 คน ซึ่งถูกนายจ้างลอยแพด้วยการปิดโรงงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย คนงานกว่า 800 คน ก่อนหนีออกนอกประเทศไทย ได้รวมตัวกันชุมนุมที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฏหมายของพวกเขา
ระหว่างนั้น คนงานที่ร่วมชุมนุมได้พยายามช่วยกันหารายได้มาเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่าย ต่างๆ ทั้งด้วยการนำดอกไม้ไปขายตามที่ประชุมต่างๆ รับจ้างเขียนป้ายผ้าให้กับงานสัมมนา และที่สำคัญคือ พวกเขาได้ตั้งโรงงานขนาดเล็กที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงาน โดยนำเครื่องจักรเย็บผ้า 7 ตัว มาตัดเย็บเสื้อผ้าฝ้ายและกระเป๋าสะพายจำหน่ายให้แก่คนทั่วไป โดยทำการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลือกซื้อผ้่า ออกแบบ ตัดเย็บ และถักลวดลาย ด้วยไหม อีกทั้งยังมีการสกรีนเสื้อยืดเป็นข้อความ “ดิกนีตี้ อิส น็อท ฟอร์ เซล (อังกฤษ:Dignity is not for sale) – ศักดิ์ศรีไม่ได้มีไว้ขาย” และรูปภาพการเดินขบวนของคนงาน ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้ผลิตในนาม “เมด อิน ดิกนีตี้ (อังกฤษ : made in dignity)” ซึ่งเป็นยี่ห้อที่พวกเขาตั้งขึ้นเอง
การชุมนุมครั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2546 ซึ่งควรได้รับบันทึกด้วยว่า การต่อสู้อันยาวนานของพวกเขา ได้ส่งผลให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ต้องแก้ไขระเบียบข้อบังคับที่สำคัญ โดยได้ขยายการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (เดิมจ่ายเพียง 30 เท่า) ในกรณีีค่าจ้างค้างจ่ายรวมทั้งในกรณีค่าชดเชยสำหรับคนงานที่มีอายุเกิน 60 ปี (เดิมจ่ายเพียง 30 เท่า ไม่ว่าจะทำงานมากี่ปีก็ตาม) ทำให้อดีตคนงานของบริษัทเบด แอนด์ บาธ ได้รับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คนละประมาณ 14,800 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอีกคนละ 2,000 บาท
โรงงานในฝัน
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง อดีตคนงาน บริษัทเบด แอนด์ บาธ จำนวน 40 คน ได้ร่วมกันก่อตั้ง “กลุ่มโซลิดารีตี้ (อังกฤษ:Solidarity Group)” โรงงานเล็กๆของพวกเขาขึ้น โดยร่วมกันกู้เงินจากธนาคารออมสินจำนวน 700,000 บาท และอีกส่วนหนึ่งจากเพื่อนพ้องคนรู้จักรวมทั้งองกรณ์ที่สนับสนุน มาเป็นเงินลงทุนตั้งโรงงาน เป้าหมายคือผลิตสินค้าภายใต้ยี่ห้อ “ดิกนีตี้ รีเทิร์นส์ (อังกฤษ:Dignity Returns )” ซึ่งเป็นยี่ห้อของกลุ่มเอง โดยเปิดตัวโรงงานเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546
“กลุ่มโซลิดาริตี้” และโรงงานของพวกเขา เกิดจากประสบการณ์ของคนงานที่ถูกนายจ้างและระบบอุตสาหกรรม-ทุนนิยมกดขี่ขูดรีด จนหวาดผวาที่จะกลับไปมีชีวิตและสภาพการทำงานเช่นนั้นอีก ที่สำคัญก็คือโรงงานเล็กๆ แห่งนี้เกิดจากความใฝ่ฝันของพวกเขา ซึ่งอยากจะเห็นโรงงานที่เป็นของคนงานเอง ปราศจากการกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบ และการบังคับขู่เข็ญจากนายทุน พวกเขาฝันเอาไว้ว่า วันหนึ่งโรงงานแห่งนี้จะมีความมั่นคง และมีรายได้ดีพอจะนำไปตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหา รวมทั้งสนับสนุนการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
เนื่องจากโรงงานยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงทำให้โรงงาน “กลุ่มโซลิดาริตี้” มีงานเข้ามาไม่มาก แม้ว่าพวกเขาจะพยายามประสานงานกับองค์กรและสหภาพแรงงานต่างๆ เพื่อรับตัดเสื้อ ป้ายผ้า ผ้าคาดหัว กระเป๋า ฯลฯ ในงานรณรงค์และงานสัมมนาต่างๆ แต่รายได้จากงานเหล่านี้ยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายของโรงงาน เช่น ค่าเช่าตึก ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งภาระหนี้ที่กู้ยืมจากธนาคาร ซึ่งต้องผ่อนส่งเดือนละหลายหมื่นบาท
“ผมเข้าใจว่ามันยาก แต่ก็จะทำอย่างตั้งใจ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาให้ได้ เราจะพิสูจน์ตัวเอง”
ปัญหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ความเป็นโรงงานเล็กๆ ทุนสำรองมีไม่มาก ทำให้ไม่สามารถซื้อวัตถุดิบคราวละมากๆ เพื่อให้ราคาผิตภัณฑ์ถูกลง ซึ่งทำให้ “กลุ่มโซลิดาริตี้” และ “ดิกนีตี้ รีเทิร์นส์ (อังกฤษ : Dignity Returns )” ยังไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับโรงงานใหญ่ๆ ได้ ทั้งที่พวกเขาเชื่อมั่นว่า ฝีมือของตัวเองไม่เป็นรองใคร, หลังการชุมนุม คนงานที่ร่วมชุมนุมส่วนหนึ่งได้แยกย้ายไปหางานทำในโรงงานใหม่ ในขณะเดียวกัน บาดแผลที่ได้รับจาก บริษัทเบด แอนด์ บาธ ได้ทำให้อดีตคนงานหลายคนรู้สึกเข็ดหลาบเกินกว่าที่จะกลับไปใช้ชีวิตอย่าง เดิมได้ กอปรกับความเบื่อหน่ายชีวิตในเมืองใหญ่ จนทำให้อดีตคนงานหลายคนตัดสินใจกลับคืนสู่ภูมิลำเนาในต่างจังหวัด
“เสื้อผ้าที่เรารับจากโรงงานอื่นมาทำ รับต่อกันมาหลายทอด ตัวหนึ่งทำ 20-30 ขั้นตอน แต่เราได้ค่าแรงตัวละ 16 บาท ซึ่งมันน้อยมาก ถ้าเรารับเองทำเอง ไม่ต้องผ่านใคร ชีวิตความเป็นอยู่ของเราน่าจะดีกว่านี้”
ปัจจุบัน “กลุ่มโซลิดาริตี้” จึงยังต้องรับงานตัดเย็บ รีด และบรรจุเสื้อผ้าจากโรงงานอื่น ซึ่งบางครั้งก็เป็นงานที่ส่งต่อกันมาหลายทอด และแน่นอนว่าค่าจ้างย่อมถูกหัก-ถูกลดลงตามจำนวนครั้งที่ส่งทอดงาน แม้ว่าพวกเขาจะพยายามดิ้นรนรับงานตัดเย็บของตัวเอง แต่ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็ยังเป็นอุปสรรค
“บางครั้งคนภายนอกก็บอกว่า เรายังต้องทำงานหนักไม่ต่างจากที่โรงงานเดิม แต่เรารู้ว่ามันต่างมาก เพราะที่นี่ไม่มีใครบังคับ ไม่มีนายจ้างคอยเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีใครคอยขู่ตะคอกด่า และที่สำคัญที่สุด ที่นี่คือโรงงานของเราเอง”
สิ่งที่ประคองโรงงานเล็กๆ แห่งนี้ไว้คือ “มิตรภาพ” ของเพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตั้งแต่ครั้ง “เบด แอนด์ บาธ” จนถูกลอยแพต้องมากินนอนด้วยกันอยู่ที่ใต้ถุนกระทรวงแรงงานอีกกว่า 3 เดือน และที่สำคัญคือ “ความใฝ่ฝัน” ที่มีและสร้างขึ้นมาร่วมกัน ทำให้พวกเขาเต็มใจที่จะต่อสู้ โดยไม่ย่อท้อกับงานซึ่งหลายคนบอกว่าหนักไม่ต่างจากโรงงานทั่วไป แต่พวกเขารู้ดีว่ามันต่าง เพราะครั้งนี้พวกเขาทำเพื่อความใฝ่ฝันของตัวเองและเพื่อนผู้ใช้แรงงานอีก มากมาย
โครงการพัฒนากลุ่มสมานฉันท์สู่ความมั่นคง
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ต้องการให้โรงงานกลุ่มสมานฉันท์และสมาชิกดำรงอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงของราคาพลังงานภาวะเงินเฟ้อวิกฤตการณ์ด้านการเงินของประเทศมหาอำนาจสำคัญๆที่ส่งผลทางภาวะเศรษฐกิจโลกเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก และโรงงานเล็กๆอย่างกลุ่มสมานฉันท์ของเราก็เช่นเดียวกันไม่สามารถหลุดพ้นจากสภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายนี้ได้ กลุ่มสมานฉันท์เองก็พยายามปรับตัวและปรับโครงสร้างการบริหารภายในองค์กรให้เข้ากับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงแต่ลำพัง ตัวกลุ่มสมานฉันท์เองก็ไม่สามารถที่จะทำได้ทั้งหมด คงต้องอาศัยความช่วยเหลือและความร่วมมือจากองค์กรต่างๆที่พร้อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือซึ่งทางกลุ่มสมานฉันท์ หวังว่าสภาพปัญหาต่างๆจะได้รับความช่วยเหลือและผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
เป้าหมายและความคาดหวังของโรงงานกลุ่มสมานฉันท์
ต้องการให้สมาชิกในกลุ่มได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับค่าครองชีพในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ต้องการชั่วโมงการทำงานที่ลดลง (ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง) ต้องการให้กลุ่มสมานฉันท์เป็นสถานที่รองรับคนงานที่ตกงาน , ไม่มีงานทำ , และคนงานที่เกิดข้อพิพาทด้านแรงงาน ไม่สามารถกลับเข้าทำงานได้ต้องการมีเวลาไปร่วมและช่วยเหลือกิจกรรมค้านแรงงาน ,การเมืองและสังคมต้องการให้กลุ่มสมานฉันท์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวต้องการเป็นแบบอย่างและเป็นตัวอย่างของคนงานที่คิดจะจัดตั่งโรงงาน